ช่วงนี้หลายๆ คนอาจเป็นกังวลเรื่องประกันสุขภาพแบบ Copayment เพราะหากจะไปหาหมอก็ต้องร่วมจ่ายเงินกับประกันด้วย ทำให้หลายๆ คนเริ่มกังวลเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้ว Copayment กลับทำมาเพื่อช่วยให้เบี้ยประกันถูกลงมากกว่า โดยข้อมูลที่น่าสนใจนี้มาจากคุณ @Kafaak
“ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Copayment ถูกออกแบบมาเพื่อปรับนิสัยการเคลมของผู้เอาประกัน ที่บางคนก็เคลมพร่ำเพรื่อ เจ็บป่วยเล็กน้อย เคลมหมด ประกอบกับเงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลมันสูง ถ้าเอะอะก็เคลมแบบนี้ บริษัทประกันก็อาจจะรับประกันสุขภาพไม่ไหว แล้วผลเสียก็จะอยู่กับผู้บริโภค” –@Kafaak, X post
From this X post: @Kafaak, March 1, 2025
Copayment คือ?
ซึ่งใจความสำคัญของ Copayment ก็คือ หากภายในปีนั้นๆ เราเจ็บป่วยเล็กน้อยแล้วเราเคลมบ่อย(3 ครั้ง ขึ้นไปในปีกรมธรรม์) และใช้จ่ายสูงเกินจำนวนเบี้ยไปมาก(200% ของเบี้ย หรือ 400% ของเบี้ย) ปีหน้าก็จะโดนให้ร่วมจ่ายนั่นเอง โดยจะต้องร่วมจ่ายอย่างต่ำๆ ที่ 30%
ความคิดเห็นของแต่ละคน
ซึ่งในบรรดาความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ส่วนใหญ่มักเห็นด้วยว่าดีต่ออุตสาหกรรมประกันสุขภาพ โดยความคิดเห็นจากคุณ @anupan_s
Co-payment ผมมองว่าเป็น + กับอุตสาหกรรมมากกว่านะ เพราะมันมีกลุ่มคนคิดเอาคุ้มกับการจ่ายค่าเบี้ยจริงๆ สุดท้ายเกิดลูปนรก มี co-payment แหละ ดีแล้ว ไม่งั้นต่อไปราคาเบี้ยกระฉูดแน่
ความคิดเห็นจากคุณ @Eaaaw
เห็นด้วยเลยครับ co-payment ไม่ได้น่ากลัวเลย มันถูกออกแบบมาเพื่อประคับประคองวงการประกันภัยในประเทศไทยเท่านั้นเอง เพราะลูกค้าที่จะโดนผลกระทบในส่วนนี้มีแค่ 0.02 % เท่านั้น
แต่ก็มีคนที่ไม่เห็นด้วย เช่น คุณ@MPannikar
เห็นด้วยกับ co payment นะ แต่ก็คิดว่าเงื่อนไขข้อ 2 คือค่อนข้างเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่นะ โรคทั่วไปเคลมได้ 2 ครั้ง เพราะ400%ของเบี้ยมันเกินอยู่แล้วละ ถ้าadmit เอกชน โรคทั่วไปมันกว้างมากอ่ะ ส่วนโรคร้ายแรงก็คือต้องร้ายแรงมากๆๆ คือถ้าเกิดเป็นหอบหืดกำเริบ มันก้admitบ่อยๆได้มั้ย
คุณ@Melisatwist
ถ้ากฏนี้ออกแบบมาเพื่อป้องกันคนเคลมพร่ำเพรื่อ แล้วมาปรับลิมิตมากกว่า 3 ครั้งต่อปี ถามว่าป่วย 4ครั้งต่อปีนี่มันพร่ำเพื่อเหรอ?? To be fair คนเราเจ็บป่วย 4 ครั้งต่อปีนี่มันธรรมดามากๆ สมาคมประกันภัยออกแบบมาเอาเปรียบผู้บริโภคเกินไปแบบนี้ก็ไม่รู้จะทำประกันสุขภาพเพื่อ??
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ X post Kafaak’s X profile here.
ใครได้ใครเสีย?
ก็ต้องบอกเลยว่างานนี้มีทั้งคนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ หากไม่สบายบ่อยอาจจะรู้สึกว่ามันน้อยเกินไป รู้สึกโดนเอาเปรียบ แต่บางคนที่แทบไม่ป่วยเลยก็อาจจะไม่ได้กระทบอะไรหรืออาจทำให้เบี้ยประกันไม่พุ่งสูงในอนาคต แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมจะดีขึ้นอย่างที่คาดการไว้จริงๆ ไหมก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่าเบี้ยประกันในอนาคตจะลดลงไหม
ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?
เมื่อก่อนเราอาจจะป่วยก็ไปหาหมอได้ทันที แต่หากใครทำประกันแบบ copayment ก็คงต้องบันทึกจำนวนการเจ็บป่วย จำนวนเงินที่เคลมจากประกันในแต่ละครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่โดนเก็บเพิ่มในปีถัดไป